วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ย. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
1. แนวปฏิบัติ
2. เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนหย่า
ผู้ยื่นคำร้องทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ต้องยื่นเอกสารเหมือนกัน ดังนี้
(1) คำร้องขอนิติกรณ์
(2) คำร้องขอจดทะเบียนหย่า และบันทึกคำสอบสวน
(3) ทะเบียนสมรสฉบับจริง ของทั้งสองฝ่าย พร้อมสำเนา 1ชุด
(4) หนังสือเดินทางซึ่งยังมีอายุใช้งานได้พร้อมสำเนา 1ชุด
(5) ทะเบียนบ้านไทย และทะเบียนบ้านโปแลนด์ / ยูเครน พร้อมสำเนา 1 ชุด
(6) บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1ชุด
(7) ใบเปลี่ยนชื่อ และ / หรือ นามสกุล (กรณีมีการเปลี่ยน) พร้อมสำเนา 1 ชุด
3. ขั้นตอนการจดทะเบียนหย่า
4. การดำเนินการหลังการหย่า
5. ข้อแนะนำ
ถึงแม้จะมีระเบียบอนุโลมให้สำนักงานทะเบียนในต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงสถานทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศรับจดทะเบียนการหย่าต่างสำนักทะเบียน (หมายถึงกรณีทีคู่สมรสมีความประสงค์จะจดทะเบียนหย่าต่างแห่ง และต่างเวลากัน โดยต่างฝ่ายต่างไปยื่นคำร้องขอหย่าพร้อมหนังสือสัญญาการหย่าต่อนายทะเบียนคนละสำนักทะเบียน คนละเวลา โดยตกลงว่า คู่หย่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยืนคำร้องขอจดทะเบียนหย่าก่อนที่สำนักทะเบียนใด และจะให้สำนักทะเบียนใดเป็นผู้จดทะเบียนให้ การหย่าโดยวิธีนี้จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อการจดทะเบียนแห่งที่สองเรียบร้อยแล้ว) แต่สถานทูตฯ แนะนำให้ผู้ร้องไปดำเนินการในประเทศไทยเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และความรวดเร็ว เนื่องจากการจดทะเบียนหย่าที่สถานทูตฯ จะต้องใช้เวลานานในการส่งกลับเอกสารสำคัญไปยังประเทศไทย เพื่อส่งต่อไปยังสำนักงานทะเบียนแห่งที่สองในการดำเนินเอกสาร และเท่าที่ปรากฏ ผู้ร้องมักมีปัญหาในการกรอกข้อมูลโดยเฉพาะในการบันทึกข้อความหลังการหย่าเกี่ยวกับอำนาจการปกครองบุตร รายละเอียดการแบ่งทรัพย์สิน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นปัญหาตามมาหลังการหย่า
09.00 – 17.00 (พักกลางวัน : 12.00 – 13.00)