หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport)
1. ข้อมูลทั่วไป
กรณีที่หนังสือเดินทางขาดอายุหรือสูญหาย และมีหลักฐานประกอบการขอหนังสือเดินทางครบถ้วน และมีความจำเป็นต้อง เดินทางเป็นการเร่งด่วน โดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้แทนได้ ท่านสามารถติดต่อขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ออกหนังสือเดินทางชั่วคราวมีซึ่งมีอายุการใช้งาน 1 ปี โดยหนังสือเดินทางชั่วคราวจะต้องมีอายุเหลือน้อยกว่า 6 เดือนก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่และหนังสือเดินทางชั่วคราวจะถูกยกเลิกทันทีเมื่อได้รับหนังสือเดินทางฉบับใหม่
2. เอกสารและหลักฐานที่จะต้องยื่น
- แบบฟอร์มคำร้องขอต่ออายุหนังสือเดินทาง จำนวน 1 ชุด |คำร้องขอมีหนังสือเดินทาง|
- [สำหรับกรณีผู้พำนักในยูเครนเท่านั้น] ภาพถ่ายผู้ร้องขนาดมาตรฐานในการทำหนังสือเดินทาง 1 รูป
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่ 1 ที่มีรูปถ่ายและรายละเอียดของผู้ร้องฯ 1 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
- ค่าธรรมเนียมรับคำร้องหนังสือเดินทางชั่วคราว 40 สว้อตตี้ ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น
- [หากผู้ร้องประสงค์ กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย] ค่าธรรมเนียมรับรอง (Endorsement) หนังสือเดินทางชั่วคราว 20 สว้อตตี้ ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น
เอกสารเพิ่มเติมกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย
- ใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเดนมาร์ก
- บันทึกการสอบสวน 1 ชุด (กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย) | ดาวน์โหลด |
เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้เยาว์ (มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
- จะต้องให้บิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองลงนามยินยอมด้านหลังคำร้อง พร้อมหลักฐานเพิ่มเติมที่ต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ คือ
– หนังสือเดินทางของทั้งพ่อและแม่
– ทะเบียนสมรสของพ่อแม่
- หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ จะต้องไปลงนามใน “หนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม”
(สำหรับการทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายมือชื่อของบิดาและมารดา
- ในกรณีที่บิดาและมารดาอยู่ที่ประเทศไทย ทั้งบิดาและมารดาต้องทำ “หนังสือให้ความยินยอม” ให้บุตรทำหนังสือเดินทาง ผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ
- กรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่าแล้ว ให้ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ลงนามในหนังสือยินยอมเพียงฝ่ายเดียว และ จะต้องแสดงหลักฐานทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาลซึ่งระบุว่าเด็กอยู่ในความปกครองของบิดา/มารดาหรือผู้มีอำนาจปกครอง
- กรณีบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์เสียชีวิต จะต้องแสดงหลักฐานใบมรณบัตร
เอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็นแต่ละกรณี
- ใบเปลี่ยนชื่อ/ชื่อสกุล
– กรณีใช้ชื่อ/ชื่อสกุลใหม่ที่ไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมหรือรายการแก้ไขหนังสือเดินทางที่ปรากฏในหนังสือเดินทางฉบับเดิม
- ใบสำคัญการสมรส
– สตรีที่สมรสแล้วขอเปลี่ยนชื่อสกุล
– มารดาที่มีชื่อสกุลไม่ตรงกับสูติบัตรของบุตร
- ใบสำคัญการหย่า
– สตรีที่ใช้ชื่อสกุลไม่ตรงกับหนังสือเดินทางฉบับเดิมเนื่องจากหย่า
- บันทึกการหย่า
– ใช้ประกอบการแสดงอำนาจในการปกครองบุตร
- หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร
– กรณีผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของบิดา โดยที่บิดา/มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา/มารดา
– ผู้เยาว์ที่บิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าว
หากผู้ร้องฯ ไม่สามารถแสดงเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ขอให้แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถแสดงเอกสาร พร้อมทั้งแสดงเอกสารอย่างอื่นที่แสดงความเป็นคนไทย เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของไทย โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะพิจารณาอนุโลมเป็นรายกรณี
3. การยื่นคำร้อง
- ผู้ที่พำนักในยูเครนสามารถมอบอำนาจให้บุคคลที่สามยื่นคำร้องพร้อมค่าธรรมเนียมแทน หรือ ส่งทางไปรษณีย์พร้อมค่าธรรมเนียม (สกุลเงินสว้อตตี้เท่านั้น) แต่ควรเป็นไปรษณีย์ที่มี tracking number และเป็น courier เท่านั้น โดยขอให้ declare เป็น เอกสาร (Document) เมื่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ผลิตเล่มและแจ้งผู้ร้องให้เรียกไปรษณีย์มารับหนังสือเดินทางชั่วคราว
- ยื่นคำร้องด้วยตนเองสำหรับผู้ที่พำนักในโปแลนด์ ในเวลาทำการ โดยขอให้นัดหมายทาง [email protected] หรือ Facebook Messenger ของสถานเอกอัครราชทูตฯ (Royal Thai Embassy, Warsaw, Poland)
**หมายเหตุ สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับผิดชอบกรณีเอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ชำรุดหรือสูญหาย ไม่ว่ากรณีใด**