วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 518 view

ข้อแนะนำสำหรับคนไทยในโปแลนด์เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ

         

                        สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอได้จัดทำแผนช่วยเหลือ/อพยพคนไทยในประเทศโปแลนด์ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยโรคระบาดรุนแรง วิกฤตการณ์ทางการเมือง/สงครามภายในประเทศโปแลนด์ ตามนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า โดยในส่วนของแผนช่วยเหลือ/อพยพคนไทยกรณีเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง/เกิดสงคราม แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

  1. ระดับ 1 (สีเขียว)       เป็นการเตรียมความพร้อมในภาวะปกติ
  2. ระดับ 2 (สีเหลือง)    เป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุ
  3. ระดับ 3 (สีแสด)       เมื่อเกิดความไม่สงบในประเทศ และเริ่มส่งผลกระทบต่อความ

ปลอดภัยของประชาชน

  1. ระดับ 4 (สีแดง)       เกิดความไม่สงบรุนแรงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อความไม่ปลอดภัย

ของชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนภายในประเทศ จนถึงขั้นต้อง

อพยพออกจากพื้นที่หรือออกนอกประเทศ

                        อย่างไรก็ดี โอกาสหรือความเป็นไปได้ที่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง หรือสงครามภายในประเทศโปแลนด์มีน้อยมาก แต่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือโรคระบาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่ โดยในเบื้องต้นนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดส่งเอกสารแผนดังกล่าวไปยังกลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในโปแลนด์ได้รับทราบและช่วยเผยแพร่ให้กับสมาชิกชุมชนไทย เป็นการเตรียมการซักซ้อมแผนฯ ในเบื้องต้น

                        ในส่วนของทางการโปแลนด์ หน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการประสานงาน คือ Government Centre for Security โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ อาทิ Department for International Security Policy ของกระทรวงกลาโหม National Crisis Management Unit ของกระทรวงมหาดไทย Border Guards Control และสำนักงานตำรวจในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหากเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น หน่วยงานเหล่านี้จะมีบทบาทในการป้องกัน และรับมือกับสถานการณ์ โดยประชาชนที่พำนักในโปแลนด์ หรืออยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นคนท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติ ก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหน่วยงานเหล่านี้ และหน่วยงานในท้องถิ่นเป็นหลัก ที่สำคัญคือ ทุกคนจะต้องคอยติดตามข่าวสาร หรือความเคลื่อนไหวต่าง ๆ และทำตามคำแนะนำของทางการโปแลนด์เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ ในส่วนของสถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งมีบุคลากรจำกัด และอาจอยู่ห่างไกลจากพื้นที่เกิดเหตุ จะทำหน้าที่เป็นแกนนำในการประสานงานระหว่างหน่วยงานของโปแลนด์ กับชุมชนไทย ในการขอความร่วมมือ ความช่วยเหลือ และการอำนวยความสะดวกกับคนไทยที่ประสบภัย

                       

ประกาศสำหรับคนไทยในโปแลนด์กรณีเกิดภัยพิบัติ ประจำปี 2554

 

  1. ในสภาวะปกติ
    1. สำรวจว่าตนและบุคคลในครอบครัวมีเอกสารเดินทางครบถ้วน พร้อมเดินทางหากจำเป็น
    2. แจ้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขติดต่อให้สถานทูตฯ ทราบ
    3. มีที่อยู่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ และหมายเลขโทรศัพท์ติดตัว

Royal Thai Embassy

Ul. Willowa 7, 00-790, Warsaw

Tel. +48 22 849 6414    +48 22 849 1406

Hotline: +48 600 288 178    + 48 660 638 055

Website: http://www.thaiembassy.pl

Email: [email protected]

  1. ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และกับกลุ่มเพื่อนคนไทย
  2. พยายามติดต่อเพื่อนคนไทยสม่ำเสมอ
  1. ในสภาวะที่มีความไม่ปลอดภัย/เหตุการณ์ฉุกเฉิน

2.1 เตรียมเอกสารเดินทาง และสัมภาระให้พร้อมเดินทางหากจำเป็น

2.2 ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อรับข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว

2.3 ติดต่อเทศบาลท้องถิ่น หรือหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อขอคำแนะนำต่าง ๆ

2.4 ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และกับกลุ่มเพื่อนคนไทย ให้เพื่อนรู้ว่า เราอยู่ที่ใด

      ไปที่ไหน

2.5 หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา หลีกเลี่ยงการเดินทางในยามวิกาล

2.6 ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตนหรือที่พักอาศัย บุคคลที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่

      ควรเดินทางออกนอกพื้นที่

  1. เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

3.1 รีบติดต่อสถานทูตฯ เพื่อขอคำแนะนำ

3.2 รีบติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อขอคำแนะนำต่าง ๆ

3.3 อยู่แต่ในที่พักอาศัย และให้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา หรือ

3.4 เดินทางออกนอกพื้นที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย หรือ

3.5 ไปรวมที่จุดนัดหมายที่สถานทูตฯ หรือที่เทศบาลท้องถิ่นกำหนดไว้

3.6 ติดตามประกาศจากสถานทูตฯ อย่างต่อเนื่อง

3.7 สถานทูตฯ จะได้จัดเตรียมสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่คนไทยที่จะอพยพไปพักพัง และ

ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของทางการโปแลนด์รวมทั้งสถาน

เอกอัครราชทูตบริเวณใกล้เคียงเป็นระยะในการดำเนินแผนอพยพ และประสานกับ

สายการบินที่จะทำการเคลื่อนย้าย/อพยพคนไทยออกจากโปแลนด์ไปยังประเทศที่

ปลอดภัยในการพักพิงชั่วคราว หรือเดินทางกลับประเทศไทยตามความเหมาะสมของ

สถานการณ์และความพร้อมของยานพาหนะ ดังแผนอพยพที่แนบมาพร้อมนี้

 

*********************************